วันถือกำเนิด วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๖ กองทัพเรือ พิจารณาเปลี่ยนชื่อ “กองเรือรบ” ซึ่งแต่เดิมประกอบด้วย เรือตามประเภท ๔ หมวดเรือ ได้แก่ หมวดเรือปืน หมวดเรือใช้ตอร์ปิโด หมวดเรือช่วยรบ และหมวดเรือพระที่นั่งเป็น “กองเรือยุทธการ” โดยรวมกิจการของหมวดเรือปืน และหมวดเรือใช้ตอร์ปิโด เป็นหน่วยเดียวกัน ใช้ชื่อใหม่ว่า “กองเรือตรวจอ่าว” กองเรือตรวจอ่าวจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมานับตั้งแต่บัดนั้น โดยมีเรือปืน และเรือใช้ตอร์ปิโด เป็นเรือสองประเภทแรก ในสังกัดของกองเรือตรวจอ่าว จนกระทั่งปัจจุบันกองเรือตรวจอ่าว มีเรือสี่ประเภท รวม ๒๑ ลำ ได้แก่ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี เรือเร็วโจมตีปืน และเรือตรวจการณ์ปืน
ภารกิจของกองเรือตรวจอ่าว ปัจจุบันกองเรือตรวจอ่าว เป็นหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ มีภารกิจในการจัดเตรียมกำลังสำหรับการปฏิบัติการรบผิวน้ำ ซึ่งโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กองเรือตรวจอ่าวได้จัดเรือออกปฏิบัติราชการในหน่วยเฉพาะกิจต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ทั้งทะเลด้านอ่าวไทย และทะเลอันดามัน สนับสนุนการฝึกภาคทะเล ดังคำกล่าว
ซึ่งหมายความว่าเรือของกองเรือตรวจอ่าวนั้นปฏิบัติราชการอยู่ในทัพเรือภาคที่ ๑ , ทัพเรือภาคที่ ๒ , ทัพเรือภาคที่ ๓ คอยเฝ้าดูแลผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของกำลังพลทุกนายที่ได้ทำหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้
๑. กองบัญชาการ
มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการปฏิบัติของหน่วยตามที่ได้รับมอบหมาย มีหน่วยในบังคับบัญชา ๑ กอง ๗ แผนก ได้แก่ กองช่าง แผนกธุรการ แผนกกำลังพล แผนกยุทธการและการข่าว แผนกส่งกำลังบำรุง แผนกสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกพลาธิการ และ แผนกการเงิน
๒. กองร้อยกองบัญชาการ
มีหน้าที่สนับสนุนทางธุรการ การรักษาความปลอดภัย และ การบริการทั่วไปให้แก่กองบัญชาการ กองเรือตรวจอ่าว โดยมีหน่วยในบังคับบัญชา ๓ หน่วย ประกอบด้วย กองบังคับการกองร้อย หมวดบริการ และหมวดป้องกัน
๓. หมวดเรือที่ ๑
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๓ ลำ เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (เรือ ตกก.) ได้แก่ ร.ล.กระบี่ ,ร.ล.ปัตตานี ,ร.ล.นราธิวาส
๔. หมวดเรือที่ ๒
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๙ ลำ เป็นเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี (เรือ รจอ.) จำนวน ๓ ลำ และเรือเร็วโจมตีปืน (เรือ รจป.) จำนวน ๖ ลำ ได้แก่
๔.๑ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ( เรือ รจอ. ) ร.ล.ราชฤทธิ์ , ร.ล.อุดมเดช
๔.๒ เรือเร็วโจมตีปืน (เรือ รจป.) ร.ล.ปราบปรปักษ์ ,ร.ล.หาญหักศัตรู ,ร.ล.สู้ไพรินทร์ ,ร.ล.ชลบุรี ,ร.ล.สงขลา ,ร.ล.ภูเก็ต
๕. หมวดเรือที่ ๓
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๙ ลำ เป็นเรือตรวจการณ์ปืน ได้แก่ ร.ล. สัตหีบ ,ร.ล. คลองใหญ่ ,ร.ล. ตากใบ ,ร.ล.กันตัง ,ร.ล.เทพา ,ร.ล.ท้ายเหมือง ,ร.ล.หัวหิน ,ร.ล.แกลง ,ร.ล.ศรีราชา , ร.ล.แหลมสิงห์
กองเรือตรวจอ่าวได้มีภารกิจที่สำคัญ ได้แก่ การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือตรวจอ่าว การฝึกร่วมกับกองเรือพร้อมปฏิบัติการ การจัดเรือเข้าร่วมหมู่เรือปราบปรามโจรสลัดไปปฏิบัติการในพื้นที่อ่าวเอเดนและชายฝั่งโซมาลีย นอกจากนั้นกองเรือตรวจอ่าวยังได้ดำเนินการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ตามนโยบายของ ผู้บัญชาการทหารเรือ เพื่อมุ่งหวังให้กองเรือตรวจอ่าว เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง และเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นองค์ความรู้ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติราชการของเรือในกองเรือตรวจอ่าว เริ่มตั้งแต่เมื่อเรือปลดเชือกเส้นสุดท้ายจนเสร็จสิ้นภารกิจ จึงได้ดำเนินการจัดการความรู้ใน ๓ องค์ความรู้หลัก ได้แก่
๑. องค์ความรู้ เรื่อง ระบบสนับสนุนการนำเรือและศูนย์ยุทธการ
๒. องค์ความรู้ เรื่อง ปืนหลักของกองเรือตรวจอ่าว
๓. องค์ความรู้ เรื่อง การผนึกน้ำ ป้องกันความเสียหาย
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้น กองเรือตรวจอ่าวได้ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เพื่อปกป้องอธิปไตยและคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์แล้ว ในอนาคตก็จะต้องมีการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถต่อไปตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้เป็นหน่วยที่มีความพร้อมรบและพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายได้ทั้งในยาสงบและในยามสงครามดังคำกล่าวที่ว่า